วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

dogs can tell the difference face


dogs can tell the difference between happy and angry human faces, according to a new study in the Cell Press journal Current Biology on February 12. The discovery represents the first solid evidence that an animal other than humans can discriminate between emotional expressions in another species, the researchers say.
"We think the dogs in our study could have solved the task only by applying their knowledge of emotional expressions in humans to the unfamiliar pictures we presented to them," says Corsin Müller of the University of Veterinary Medicine Vienna.
Previous attempts had been made to test whether dogs could discriminate between human emotional expressions, but none of them had been completely convincing. In the new study, the researchers trained dogs to discriminate between images of the same person making either a happy or an angry face. In every case, the dogs were shown only the upper or the lower half of the face. After training on 15 picture pairs, the dogs' discriminatory abilities were tested in four types of trials, including
(1) the same half of the faces as in the training but of novel faces,
(2) the other half of the faces used in training,
(3) the other half of novel faces, and
(4) the left half of the faces used in training.
The dogs were able to select the angry or happy face more often than would be expected by random chance in every case, the study found. The findings show that not only could the dogs learn to identify facial expressions, but they were also able to transfer what they learned in training to new cues.
"Our study demonstrates that dogs can distinguish angry and happy expressions in humans, they can tell that these two expressions have different meanings, and they can do this not only for people they know well, but even for faces they have never seen before," says Ludwig Huber, senior author and head of the group at the University of Veterinary Medicine Vienna's Messerli Research Institute.
What exactly those different meanings are for the dogs is hard to say, he adds, "but it appears likely to us that the dogs associate a smiling face with a positive meaning and an angry facial expression with a negative meaning." Müller and Huber report that the dogs were slower to learn to associate an angry face with a reward, suggesting that they already had an idea based on prior experience that it's best to stay away from people when they look angry.
The researchers will continue to explore the role of experience in the dogs' abilities to recognize human emotions. They also plan to study how dogs themselves express emotions and how their emotions are influenced by the emotions of their owners or other humans.
"We expect to gain important insights into the extraordinary bond between humans and one of their favorite pets, and into the emotional lives of animals in general," Müller says.

สัตว์เลี้ยง..เพิ่มหยางในบ้าน

สัตว์เลี้ยง..เพิ่มหยางในบ้าน

“หยาง” คืออะไร
หยาง คือพลังชีวิตที่เคลื่อนไหว ตรงข้ามกับ “หยิน” ที่นิ่งสงบ  ฮวงจุ้ยบ้านคนเป็นจำ เป็นจะต้องพึ่งพลังหยาง เพื่อให้บ้านมีชีวิตชีวา มีแรงกระตุ้นในการขับเคลื่อนให้กับคนในบ้าน  โดยเฉพาะบ้านที่มีคนอยู่น้อย ที่มีสภาพแวดล้อมนิ่งมากกว่าเคลื่อนไหว
ธรรมชาติของสัตว์ จะมีสภาพเป็นหยาง เพราะสัตว์มักจะเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง การนำสัตว์มาเลี้ยงในบ้าน ก็เท่ากับว่าเพิ่มสิ่งเคลื่อนไหวให้กับบ้านมากขึ้น นั่นเอง ซึ่งถือเป็นข้อดี แต่ในทางกลับกัน บ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่เคลื่อนไหวมากอยู่แล้ว การนำสัตว์มาเลี้ยงอาจสร้างความวุ่นวายได้
หลักของการนำสัตว์มาเลี้ยงในบ้าน จึงต้องพิจารณาถึงความสมดุล(หยิน-หยาง)เป็น สำคัญ บ้านที่มีคนอยู่มากและมีขนาดเล็ก จึงไม่เหมาะที่จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น บ้านทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโดฯ เป็นต้น ส่วนบ้านที่มีขนาดใหญ่ และมีคนอยู่น้อย อาจจำเป็นต้องมีสัตว์เลี้ยง เพื่อปรับสมดุลให้กับบ้าน
คราวนี้มาดูเรื่องของสัตว์ที่เอามาเลี้ยงกันบ้าง แน่นอน “หมา” หรือสุนัข ยังเป็นตัวเลือกอันดับ 1 ที่คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงเอาไว้ในบ้าน เพราะมีคุณสมบัติหลายอย่างทั้งเป็นเพื่อนแก้เหงา เฝ้าบ้าน และป้องกันโจรผู้ร้ายได้ (ยกเว้นกัดเด็ก)
หลักฮวงจุ้ยมีคำเตือนเกี่ยวกับการเลี้ยงหมาเอาไว้ว่า เสียงของหมาที่เห่าแต่ละครั้ง จะทำลายโชคลาภของบ้าน ยิ่งเสียงดังเท่าไหร่ โชคลาภบ้านนั้นยิ่งหดหาย เหตุผลก็เพราะ เสียงหมาเห่า จะทำให้คนไม่กล้าเข้า และรีบเดินหนี ถ้าเป็นร้านค้าจะเห็นชัด ร้านที่เลี้ยงหมาเอาไว้หน้าร้าน มักจะขายของไม่ดี เพราะลูกค้าไม่กล้าเข้า กลัวหมากัด นั่นเอง
การวางตำแหน่งของกรงหมาในบ้าน มีหลายคนถามว่า มีหลักในการเลือกตำแหน่งหรือไม่ คำตอบคือ มี ตำแหน่งที่เหมาะที่สุด จะต้องอยู่ในมุมที่มองเห็นได้ทั้งด้านหน้าบ้านและหลังบ้าน ในกรณีที่เลี้ยงหมาเพื่อเฝ้าบ้าน
ส่วนตำแหน่งห้ามวางกรงหมา คือ บริเวณหน้าบ้าน เพราะหมาจะเห่าทุกครั้งที่มีคนเดินผ่าน สร้างความรำคาญให้กับบ้านใกล้เคียงได้ อีกจุดหนึ่งก็คือ กรงหมาห้ามเอาไว้ต้นลม หรือวางทางทิศใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ เพราะลมจะพัดเอาขน หรือ กลิ่นตัวเข้าสู่บ้านได้ ควรเลือกวางทางทิศเหนือ หรือตะวันออกเฉียงเหนือ จะเหมาะกว่า
ฝากเตือนกันสักนิด สำหรับผู้ที่จะคิดเลี้ยงสัตว์เอาไว้ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงประเภทใด ควรดูแลเอาใจใส่เปรียบเสมือนเป็นสมาชิกของคนในบ้าน ไม่ใช่เลี้ยงแบบของเล่น เบื่อแล้วก็ทิ้ง สัตว์ก็มีหัวใจนะ สงสารมันเถอะครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้
โดยในหมวด ๕ การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา ๒๑ การกระทําดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐
(๑) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
(๒) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจําหน่ายเนื้อสัตว์
(๓) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
(๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน
(๕) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา
(๖) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
(๗) การกระทําใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทําได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์
และในส่วนของบทลงโทษ 
มาตรา ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๓๒ เจ้าของสัตว์หรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี ประกาศกําหนดตามมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๔ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๘๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ศาลได้พิพากษาลงโทษผู้ใดตามมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๓๒ หากศาลเห็นว่าการให้สัตว์นั้นยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของหรือของผู้กระทําความผิดนั้นต่อไป สัตว์นั้นอาจจะถูกทารุณกรรมหรือได้รับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ไม่เหมาะสมอีก ศาลอาจสั่งห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้กระทําความผิดนั้นครอบครองสัตว์ดังกล่าวและมอบให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เห็นสมควรเป็นผู้ครอบครองหรือดูแลสัตว์นั้นต่อไป
มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๓๕ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวัน ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายใน ระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคสอง ให้ดําเนินคดีต่อไป 
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ปัญหาสุนัขจรจัดในปัจุบัน




ในปัจจุบันมนุษย์เราขาดความรับผิดชอบขาดจิตสำนึกในความรับผิดชอบในการเลี้ยงสุนัขทำให้เกิดปัญหาสุนัขจรจัดซึ่งปัจจุบันปัญหาสุนัขจรจัดเป็นปัญหาที่เเก้ไขได้ยากมาก  เนื่องจากผู้คนขาดจิตสำนึก ดังนั้นเราทุกคนควรที่จะปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กยุคใหม่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองต่อสังคม  เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ได้

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์
มนุษย์ ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน  กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
ภาษา คอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)
          1  ภาษาเครื่อง (Machine Language)
การ เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียน โปรแกรมใหม่ทั้งหมด

        2  ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
เนื่อง จากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า “ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า  “ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ  ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่ง เป็นตัวเลขล้วน ดังตารางแสดงตัวอย่างของภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่องที่สั่งให้มีการบวกจำนวน ที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ
ตารางที่ 5.1 แสดงความสัมพันธ์ของคำสั่งในภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่อง
ภาษาระดับต่ำ    ภาษาเครื่อง    รหัสเลขฐานสิบหก
MOV   AL,05    10110000     00000101    B0     05
MOV   BL,08    10110011     00001000    B3     08
ADD   AL,BL    00000000     11011000    00     D8
MOV   CL,AL    10001000     11000001    88     C1
จาก ตารางบรรทัดแรก 10110000 00000101 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 5 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00000101) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ AL โดยส่วนแรก 10110000 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่ สอง 10110011 00001000 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 8 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00001000) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ BL โดยส่วนแรก 10110011 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ BL
บรรทัดที่สาม เป็นคำสั่งการบวกระหว่างรีจิสเตอร์ AL กับ BL หรือนำ 5 บวก 8 ผลลัพธ์เก็บในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สี่ เป็นการนำผลลัพธ์จากรีจิสเตอร์ชื่อ AL ไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ชื่อ CL
การ ใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่า “แอสเซมเบลอร์” (Assembler) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปลโปรแกรมภาษาแอสเซ มบลีของเครื่องชนิดอื่น ๆ ได้ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง ละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

         3  ภาษาระดับสูง (High Level Language)

ภาษา ระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอ สเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปล ภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่
    1)  ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
จัด เป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้เปลี่ยนมานิยมการเขียน โปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิมไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครง สร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า FORTRAN 66 และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า FORTRAN 77 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้
    2)  ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
เป็น ภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและ รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517 เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3)  ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
เป็น ภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเพื่อใช้สอน เขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
นอก จากนี้    ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเขียน    ซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา    ผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกรหรือนักวิจัย จะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
    4) ภาษาปาสคาล (Pascal)
ตั้ง ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์
     5)  ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
ภาษา ซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้า ไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
นอก จากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า “ภาษาซีพลัสพลัส” (C++)
    6)  ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
เป็น ภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก  ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม   แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป
7)  การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
ภาษา นี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
     8)  ภาษาจาวา (Java)
พัฒนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบ ปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
นอก จากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือ แม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งาน ระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า “แอปเพล็ต” (Applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้
    9)  ภาษาเดลฟาย (Delphi)
เป็น ภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิ ชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล  ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้ งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม
     4.  ภาษาระดับสูงมาก

 เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงมาก จัดเป็นภาษาไร้กระบวนคำสั่ง หมายความว่าผู้ใช้ เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร โดยไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าสิ่งนั้นทำอย่างไร เรียกว่าเป็นภาษาเชิงผลลัพธ์ คือเน้นว่าทำอะไร ไม่ใช่ทำอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนง่าย

     5. ภาษาธรรมชาติ

 เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 5 ซึ่งคล้ายกับภาษาพูดตามธรรมชาติของคน การเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด คือการเขียนคำพูดของเราเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องใช้คำสั่งงานใดๆ เลย

ตัวอย่างภาษาในยุคต่างๆ ดังนี้

Fortran : ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด

Colbol : ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง

Basic : ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา

Pascal : เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย

Ada : ภาษามาตรฐาน ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย โปรแกรมเมอร์คนแรก คือ เคาต์ Add Lovelace เป็นภาษาที่ประสบความเร็จกับงานด้านธุรกิจ

C : ภาษาสมับใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฎิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง

ALGOL : เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์

LISP : เป็นภาษาที่ใช้เมื่อประมวลผลด้านสัญลักษณ์, อักขระ,หรือคำต่างๆ ซึ่งเป็นการได้ตอบระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ภาษานี้นิยมใช้เขียนโปรแกรมด้านปัญญาประดิษฐ์

Prolog : เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งแทนการใช้ภาษาLISP

PL/1 : เป็นภาษาที่เรียนรู้ง่าย ใช้งานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และด้านธุรกิจ ดังนั้นภาษานี้จะมีขนาดใหญ่ มี option มาก

ALP : เป็นภาษที่เหมาะสมกับการทำตาราง มีสัญลักษณ์ต่างๆ มาก

Logo : เป็นภาษาย่อยของ lisp เป็นโปรแกรมสำหรับเด็ก มีการสนทนาโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้ "เต่า" เป็นสัญลักษณ์โต้ตอบกับคำสั่งง่ายเช่น forward, left

Pilot : เป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุดในการเขียนโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน(CAI) เช่น งานเกี่ยวกับคำสั่ง ฝึกหัด การทดสอบ เป็นต้น

Smalltalk : เป็นภาษาเชิงโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยการจำ และการพิมพ์ เป็นภาษาที่สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ภาพ เป็นภาษาเชิงวัตถุไม่ใช่เชิงกระบวนการ

Forth : เป็นภาษาสำหรับงานควบคุมแบบทันที เช่นการแนะนำกล้องดาราศาสตร์ และเป็นภาษาโปรแกรมที่มีความเร็วสูง

Modula-2 : คล้ายคลึงกับภาษาปาสคาล ออกแบบมาเพื่อให้เขียนซอฟต์แวร์ระบบ

RPG : เป็นภาษาเชิงปัญหา ออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาการทำรายงานเชิงธุรกิจ เช่น การปรับปรุงแฟ้มข้อมูล

  การทำงานของโปรแกรมแปลภาษา
ใน การประมวลผลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็น ภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1)  คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็น โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า “โปรแกรมต้นฉบับ” (Source Program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (Object Program) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรม และสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีก โดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่ โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี
2)  อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
เป็น โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นโปรแกรม ภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลและประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเทอร์พรีเตอร์ก็คือถ้านำโปรแกรมนั้นมาใช้งานอีกจะต้องทำการแปล โปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผู้จัดทำ



ชื่อ  นายพิรชัช   ทิพย์รอด
เลขประจำตัวนักเรียน  29846     เลขที่ 5   ชั้น  ม.4/13
วันเกิด  28  กุมภาพันธ์  2542
ราศี  มีน
จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียน  มานิตานุเคราะห์
ที่อยู่  ในจักวาลนี้ไปหาเองสิ
คติประจำใจ  หากกูไม่ได้คนอื่นอย่าหวังจะได้
งานอดิเรก  เเกล้งเพื่อนไปวันวัน
ดรูที่ปรึกษา  ไม่มีหรอกปรึกษาตนเอง
อีเมล จะอยากรู้ไปทำไม
เบอร์โทร จะขอเราเป็นเเฟนเหรอ  เราเขินนะ

ข้อมูลทั้งหมดเป็นความเท็จนะคับบ อย่าเครียดนะคนที่อ่าน